วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สำหรับลักษณะเด่นเป็นพิเศษที่สำคัญของการตลาดเจาะตรง


สำหรับลักษณะเด่นเป็นพิเศษที่สำคัญของการตลาดเจาะตรง มี 5 อย่างที่สำดังนี้คือ (Robert and Berger. 1989 : 3-5)
1.เป็นการดำเนินงานที่มุ่งเน้นเป้าหมายที่ชัดเจน (precision targeting)
จากการพิจารณารายชื่อของลูกค้าที่จะส่งจดหมายไปถึง ที่ได้เลือกสรรมาแล้วอย่างรอบคอบ รวมทั้งพิจารณาข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูล จะช่วยให้นักการตลาดเจาะตรงสามารถติดต่อสื่อสารเข้าถึงลูกค้าผู้บริโภค หรือลูกค้าที่เป็นหน่วยธุรกิจที่คาดหวัง โดยเฉพาะเหล่านี้ได้ดีที่สุด เป็นการลดความสิ้นเปลือง แตกต่างจากการใช้วิธีการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถกำหนดผู้รับสารเป้าหมายได้แน่นอนชัดเจน
2.มีลักษณะความเป็นส่วนตัว (personalization)
การตลาดเจาะตรงจะสามารถเอ่ยนามชื่อลูกค้าแต่ละรายได้ สำหรับลูกค้าที่เป็นนักธุรกิจจะสามารถเอ่ยนาม และตำแหน่งได้ด้วย และยิ่งไปกว่านั้น การมีข้อมูลที่ดีเกี่ยวกับลูกค้า ยังสามารถน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อกระตุ้นลูกค้า หรือเชิญชวนให้ตัดสินใจซื้อ ซึ่งแสดงถึงความใกล้ชิดและมีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เช่น “คุณสมชายครับ ชั้นวางโทรทัศน์อเนกประสงค์ในแคตตาล็อก หน้า
9 จะเหมาะกับโทรทัศน์ที่คุณเพิ่งซื้อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว” เป็นต้น
3.มีการเรียกร้องให้ลงมือกระทำในทันที (call for immediate action)
ข้อความเพื่อการสื่อสารกับลูกค้า ในการตลาดเจาะตรงจะมีการระบุให้ลงมือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในทันทีเสมอ เช่น ให้ตัดสินใจซื้อ หรือเพื่อให้ลูกค้าขอข้อมูลเพิ่มเติม การเรียกร้องต้องการเพื่อให้ลูกค้าลงมือกระทำ หรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งทันที จะช่วยป้องกันลูกค้าที่ชอบผัดผ่อนเลื่อนเวลาตัดสินใจออกไป ซึ่งบ่อยครั้งจะเงียบหายไปเลย
4.เป็นกลยุทธ์ “ซ่อนเร้น” (“invisible” strategies)
กลยุทธ์และยุทธวิธีต่าง ๆ ที่นักการตลาดเจาะตรงนำมาใช้ จะเป็นลักษณ์ซ่อนเร้นจำบังคู่แข่งขันมองไม่เห็น หรือหากจะมองเห็นอยู่บ้าง แต่ก็น้อยกว่ากลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ปฏิบัติกันทางสื่อมวลชนมาก จากการใช้กลยุทธ์ที่ซ่อนเร้นดังกล่าว จะช่วยป้องกันมิให้คู่แข่งขันลอกเลียนแบบ หากการใช้แผมรณรงค์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จ
5.ความสามารถวัดสัมฤทธิผลได้ (measurability)
เป็นลักษณะเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ต้องกล่าวย้ำเน้น เพื่อเกิดความสมบูรณ์ของการตลาดเจาะตรง กล่าวคือ จากการรู้แน่ชัดว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้ารายใด อย่างไร ได้ผล หรือไม่ได้ผลหรือไม่ จะช่วยให้นักการตลาดสามารถจัดสรรปันส่วนงบประมาณ นำไปใช้ในการดำเนินงานที่ถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น